GAIA 2A3 monoblock (ภาคต่อ)

ติดตาม GAIA 2A3 monoblock (ภาคแรก) ที่ http://www.createhouse.net/?p=1923

มา up date ต่อกันเลยครับ

สรุป ประมวลงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบครับ  หลังจากได้รับหม้อมาก็ผึ่่งไว้รอให้แลคเกอร์แห้งสนิท เพราะเยิ้มมาเชียวขนาดที่ว่าดึงออกจากกล่องไม่ได้ ต้องฉีกกล่องออกกันเลยทีเดียว ทำมาตั้งเป็นสิบปีแล้วไม่เคยพัฒนาเลย บอกว่างานเยอะอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องพัฒนา นี่หล่ะหนา อีกหน่อยมีคู่แข่งเยอะขึ้นแล้วจะรู้สึก……

กลับมาเข้าเรื่องของเราต่อดีกว่าครับ จัดการรื้ออุปกรณ์ชุดคาโทดออก เพื่อถอดหม้อจุดไส้หลอดออกมาเปลี่ยน แต่เดิมคิดว่าจะส่งซ่อม ไม่เอาดีกว่าหม้อตัวนี้เคยช็อตรอบตั้งแต่จ่ายไฟมาครั้งนึงตอนจ่ายไฟครั้งแรก ก็ส่งพันใหม่ก็อยู่มาได้เกือบสองปี แต่เปิดจริงไม่น่าจะถึงครึ่งปีด้วยซ้ำ ก็มาเป็นอีก หลังจากแทบจะไม่ได้เปิดเลยในช่วง 6 เดือนหลังมานี้ เลยตัดสินใจสั่งพันใหม่ เอาให้ใหญ่กว่าเดิม และ เผื่อกระแส 100 เปอร์เซ็นต์ตามสไตล์ผม

มาดูสภาพก่อนที่จะรื้อกันก่อนครับ  Azn

ภาคจ่ายไฟเดิมครับ

ชุด คาโทด

ก็เลยมาคิดว่าไหนๆก็ต้องรื้อแล้ว จะแค่ re wiring ก็กระไรอยู่ รื้อทั้งทีทำมันใหม่ให้หมดเลยดีกว่าครับพร้อมทั้งเปลี่ยนอุปกรณ์ ตั้งแต่ ภาค input  drive & power ใหม่หมดซะเลย ก็อุปกรณ์ที่เคยเทสแต่ยังหาโอกาสเปลี่ยนไม่ได้ซะที (จริงแล้ว ตัวขี้เกียจจับฝังแน่นต่างหาก )   เดี๋ยวครั้งนี้จะลงรายละเอียด การทำทุกขั้นตอน ภาคสอง พรรษาแก่ขึ้นต้องเข้มข้นกว่าเดิมครับ

   

จากนั้นก็กลับมาจัดการกับหม้อ ที่เลอะไปด้วยแลคเกอร์ที่ร้านชุบมาทั้งลูก ( ตรงนี้แหละที่ผมพูดถึงว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการเลย ) ต้องเอาทินเนอร์เช็คคราบแลคเกอร์ออกให้หมด พร้อมทั้งทำความสะอาดเกลียว ไม่อย่างงั้นตอนขันจะขันยากมากและ ทิ้งคราบสกปรกไว้บนแท่นด้วย ยิ่งแท่นสีขาว ไม่น่าดูเอาเสียเลยครับ รวบรัดตัดตอนมาที่ตอนทำความสะอาดเสร็จแล้ว 

 Tongue

มาต่อกันที่ต้องเจาะแท่นเพิ่มเพราะของเดิมเป็นลูกเล็ก แต่ลูกนี้เป็นลูกใหญ่ครับ และไม่สามารถใช้เลื่อยเหมือนตอนเริ่มทำ คงต้องแปะ making tape ก่อนแล้วจึงทำการ lay out เพื่อใช้สว่านเจาะไล่ตามเส้น แล้วจึงใช้ตะไบแต่เก็บอีกทีนึงครับ  

  Kiss

 มาต่อกันครับ เริ่มจาก แปะ marking tape ในตำแหน่งหม้อ ที่ต้องการจะเจาะ ครับ งานนี้จะลำบากนิดนึงเพราะเป็นงานแก้ไขการทำต้องระวังมากเพราะแท่นเป็นงานสีครับ 

  

จากนั้นก็มาวาง lay out  สำหรับ เจาะหม้อครับ   

จากนั้นก็ใช้สว่านเจาะไล่ตามเส้นที่ต้องการเจาะ  จริงแล้วผมสามารถใช้ Nibbler (ช่างบ้านๆเรียกฟันหมา) กัดได้เลย แต่ต้องการแสดงให้เห็นว่าการที่ใช้เครื่องมือไม่กี่ชิ้นก็สามารถทำงานได้ เพราะ คนในสมัยก่อน ก็ไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยเหมือนในปัจจุบัน ก็ยังสามารถทำงานออกมาได้สวยมาก แต่สิ่งที่ต้องมีคือ ความอดทน และ พยายาม

  

จริงๆแล้ว ถ้ารื้อหม้อออกทั้งหมด แล้วใช้ เลื่อยตัดไม่เกินหนึ่งนาทีก็เสร็จครับ และ อาจเกิดรอยถลอกที่ตัวแท่นได้  ผมขี้เกียจทำสีใหม่ ที่สำคัญแพงมาก ค่าผสมสี 4000 บาท มุกหนึ่งขวดเท่ายาหยอดตา 2000 กว่าบาท ไม่เอาดีกว่า  หลังจากเจาะแล้วเอาคีมโยกๆก็จะหักแล้วครับ  แล้ว ค่อยเอาตะไปแต่งขอบครับ  แต่ลุงแก่เลี้ยว ขอใช้เครื่องทุ่นแรงหน่อยนะ  

Azn

 มาต่อกันครับ เจาะเสร็จก็ถึงงานเหนื่อยกันละครับ  เล่นเอาเหงื่อชุ่มกันเลยทีเดียว ก็อากาศมันร้อนนี่ครับ 

ชักช้าอยู่ใย เอ้า ฮ้าเห่ฮา มามามา มาประกอบหม้อกัน   

เมื่อประกอบหม้อขันน็อตยึดเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จับหงายท้องขึ้นเขียง  เอ้ย ขึ้นแท่น เตรียมลุยแต่เดี๋ยวต้องรื้อสาย และ อุปกรณ์ของเก่าออกให้หมดก่อนครับ แล้วมาลุยกันใหม่เลย คราวนี้ขอด้นสดๆ ไม่มีการเตรียมการวางแผนล่วงหน้าเหมือนในครั้งแรก  เดี๋ยวราตรีนี้ขอ wiring ชุดไส้หลอดให้เสร็จทั้งหมดก่อนครับ

 

ตอนนี้เคลีย รันเวย์ทางสะดวกแล้วครับ พร้อมแล้วสำหรับเอาเครื่องขึ้น   เดี๋ยวขอไปอาบน้ำให้ สดชื่นซะหน่อยก่อน แล้วมาจุดไส้หลอดกันครับ วันนี้เหงื่อชุ่มเป็นช่วงๆมาทั้งวัน    

Cool

มาตามสัญญาครับ เมื่อคืน ทำการ wiring ชุดหม้อจุดไส้หลอดทั้งหมดเสร็จแรียบร้อย เดี๋ยววันนี้สร้างแท่นยึดอุปกรณ์ชุดใหม่ลงไปติดตั้ง พร้อมทั้งสร้างแท่นหลักพักสายของหม้อไฟสูงใหม่ เพราะของเดิมขี้เหร่กลายเป็นจุดเด่นประจำแท่นไปซะแล้ว  

Azn
 

 เริ่มต้นจากที่หม้อจุดไฟไส้หลอด โดยครั้งนี้ปลดสายเงินเส้นเล็กออกทั้งหมด แล้วใช้เส้นใหญ่แทนเทียบขนาดดูกับสายคาโทดเส้นเล็กที่ผมลอยไว้รอต่อกับ R Cathode ครับ

 

แล้วมาจบลงที่ซ็อกเก็ต    

ภาพรวมงานที่ทำเมื่อ ทนดูเอาหน่อยนะครับถ่ายกลางดึก เพราะสติสตังค์เหลือน้อยแล้วตอนถ่ายน่ะ    Roll Eyes

wiring และ ใส่ C & R ทั้งภาค input  driver  และ ภาค power เสร็จเรียบร้อยแล้ว  Grin

ใกล้เข้ามาอีกนิดครับ    Embarrassed

input stage L-63 & ECC31 เริ่มจากสัญญาณเข้าผ่าน RCA WBT  โดยเลือกใช้ Voodoo Silver Single cor mica insulation เป็นตัวผ่านสัญญาณ R grid Takman metal film 470K เข้าสู่กริด Rp Takman carbon film 22K และ Rk takman carbon film 330R Ck Philips oil 47uF/250V ส่งผ่านสัญญาณไป driver stage Cunningham CX345 โดยเลือกใช้ Jensen cooper foil paper tube 0.1 uF /630V 

Driver stage รับสัญญาณจาก L63 ผ่าน Rg takman metal film 470K เข้ากริด Rp  5K  SRC wirewound Japan Rk Ohmite 1.5K/15w Ck 10uF/250V PP + ROE 100uF/100V ผ่านสัญญาณ plate follower เข้า Jensen cooper foil paper tube 0.22 uF/630V ไปเข้ากริด 2A3 โดย กริดของ 2A3 เลือก ใช้กริดโช็ค 640H

กลัวเดี๋ยวโดนกล่าวหาว่าหมกเม็ด ว่ารูปที่ลงไม่เหมือนกับตัวจริงอีก อันนี้สุดท้ายแล้วจริงไม่มีปรับจากนี้อีกแล้วครับ   

ZooM เข้าไปใกล้ เดี๋ยวโดนบ่นอีก ว่าถ่ายมุมที่มองเห็นไม่ชัด โดนทั้งขึ้นทั้งร่องครับ (หมายถึงโดนเพื่อน ๆ บ่นครับ อิอิ)

อันนี้ก็สุดท้ายแล้วเหมือนกันครับ สำหรับภาคจ่ายไฟ Coil 3 uF GE + L 10H/DCR 73 Ohm. + Jensen 47uF +  L 10H/DCR 73 Ohm. + Jensen 47uF + R SusuKi 2.5K + Jensen 100uF ภาคจ่ายไฟทั้งหมด Bi cap ด้วย MIAL 1200 pF/630V ครับ  

กว่าจะได้ทำงาน wiring ชุดสุดท้าย เลทมาหลายวันเลยครับ ติดงานอิรุงตุงนัง  จบเป็นที่เรียบร้อย เหลือเปลี่ยนบัส ช่วงสุดท้าย กับ ต๊าปเกลียวฝา และ ติดตั้ง ทิปโท ก็เป็นอันเสร็จสำหลับเจ้า GAIA  เดี๋ยวพรุ่งนี้มาต่อตอนจบกัน เพราะมีคิวอีกหลายตัวรอขึ้นแท่นครับ     

ชุด คาโทรด ของ 2A3 และ 45 ครับ

งาน wiring ด้านท้าย IEC  switch และ fuse

จาก นั้นก็มาถึงขั้นตอนปิดฝา เอาอคิลิคที่ตัดไว้ขึ้นทาบเพื่อมาร์คตำแหน่งเจาะรูต๊าปเกลียว 

เจาะยึดต๊าปเสร็จเรียบร้อยออกมาหน้าตาเป็นฉะนี้ครับ

รูปชุดสุดท้าย โชว์อย่างเดียวครับ

ขอบคุณท่านผู้อ่านที่ผ่านมาทุกท่านครับ  แล้วพบกันตอนต่อไปครับ….

One thought on “GAIA 2A3 monoblock (ภาคต่อ)

  1. Pingback: GAIA 2A3 monoblock | Createhouse

ใส่ความเห็น